Basic Refrigeration ED1.0_4SEP22

(kitipong j.) #1

(^94) ____ || การท าความเย็นเบื้องต้น (^) _

การออกแบบทางฝั่งคอยล์ร้อน (Condenser) ก็เช่นกันต้องทําการ
ออกแบบให้สารทําความเย็นที่ไหลออกจากคอมเพรสเซอร์ (Compressor) เมื่อ
ไหลเข้ามาภายในคอยล์ร้อน(Condenser) เพื่อระบายความร้อนออกแล้วก็ต้อง
เกิดการควบแน่นกลายเป็นของเหลวดังรูปที่ 3.26 โดยจะออกแบบให้เกิดสภาวะ
sub-cool เพื่อให้มั่นใจได้ว่าสารทําความเย็นกลายเป็นของเหลวหมดแล้ว ซึ่งจะ
ทําให้สารทําความเย็นเมื่อผ่านวาล์วลดความดันแล้วจะมีสภาวะสัดส่วนของ
ของเหลวมากที่สุด มีผลให้ความสามารถในการดูดความร้อนเพิ่มมากขึ้น ค่า
ประสิทธิภาพการทําความเย็น (Coefficient of Performance, COP) ก็จะเพิ่ม
มากขึ้น
ตัวอย่างที่ 3.9 ระบบทําความเย็นออกแบบสารทําความเย็นที่คอยล์เย็นมีความดัน
อยู่ที่ 1 MPa(a) มีสภาวะเป็นไอร้อนยิ่งยวดมีสูงขึ้นกว่าช่วงเปลี่ยนสถานะ 10 ºC
ก่อนเข้าคอมเพรสเซอร์ โดยที่ความดันในคอนเดนเซอร์มีค่าเท่ากับ 3 MPa(a) สาร
ทําความเย็นที่ทางออกคอยล์ร้อนมีสภาวะเป็นของเหลวอัดตัวอุณหภูมิต่ํากว่าช่วง
เปลี่ยนสถานะ 10 ºC และพลังงานที่ให้กับคอมเพรสเซอร์ 10 kW
จงหา 1. อุณหภูมิที่คอยล์เย็น และคอยล์ร้อน (TEvap) and (TCond)



  1. อุณหภูมิก่อนเข้าคอมเพรสเซอร์ และออกจากคอยล์ร้อน (T 1 ) and
    (T 3 )
    3. อัตราการไหลเชิงมวลของน้ํายา (ṁr)
    4. ความสามารถในการทําความเย็นในหน่วย TON (Q̇L)
    5. ความร้อนที่ระบายออกจากคอยล์ร้อนในหน่วย kW (Q̇H)
    6. ประสิทธิภาพการทําความเย็น (COP)
    7. อัตราส่วนประสิทธิภาพพลังงานของเครื่องปรับอากาศ (EER)

Free download pdf