Basic Refrigeration ED1.0_4SEP22

(kitipong j.) #1

(^132) _____ || การทําความเย็นเบื้องต้น (^)
ประสิทธิภาพเชิงปริมาตร (Volumetric Efficiency) จะเป็นการทอนลง
ของความสามารถในการอัดไอได้ของคอมเพรสเซอร์ ซึ่งมีผลทําให้พลังงานที่จ่าย
เข้าไปในคอมเพรสเซอร์ จะถูกทอนลงในกระบวนการอัดของคอมเพรสเซอร์
กล่าวคือกําลังงานที่จะถูกส่งไปถึงที่น้ํายาทําความเย็นที่ถูกอัดในตัวคอมเพรสเซอร์
จะลดลง การทอนลงนี้เป็นผลมาจากการสูญเสียอันเนื่องมาจาก การรั่วที่วาล์ว
(valve leak loss) แรงเสียดทานที่เกิดขึ้นระหว่างการไหลเข้าออกในตัว
คอมเพรสเซอร์ (friction loss) ที่ว่างระหว่างกลไกของวาล์วและลูกสูบที่ทําให้
ลูกสูบไม่สามารถเคลื่อนที่ได้ไปบนสุดของกระบอกสูบ (clearance loss) และการ
สูญเสียความร้อน ออกไปให้กับสิ่งแวดล้อมอันเนื่องมาจากกระบวนการอัด (heat
loss) ความสัมพันธ์ระหว่าง กําลังงานที่คอมเพรสเซอร์ได้รับและพลังงานที่น้ํายา
ทําความเย็นได้รับในกระบวนการอัด เป็นไปตามสมการที่ 5.1
Ẇc = EvẆ (^) 5.1
โดยที่
Ẇc = กําลังงานที่คอมเพรสเซอร์ได้รับ (ที่ส่งให้กับการอัดไอ)
Ẇ = กําลังจริงที่จ่ายให้กับคอมเพรสเซอร์
Ev = ประสิทธิภาพเชิงปริมาตรจากการอัด


5.1 การหาค่าประสิทธิภาพเชิงปริมาตร


ความสัมพันธ์ระหว่างอัตราส่วนการอัด (Compression ration) และ
ประสิทธิภาพเชิงปริมาตร(Volumetric Efficiency) ของคอมเพรสเซอร์ชนิดน้ํายา
ฮาโลคาร์บอนด์ (Halocarbon) น้ํายาประเภทนี้จะมีองค์ประกอบของ ไฮโดรเจน
และคาร์บอน จึงเรียกว่า Halocarbon ตัวอย่างของชนิดน้ํายาHalocarbon คือ
R32 , R22 , R410 , R407 และ R134a เป็นต้น คอมเพรสเซอร์ที่ใช้น้ํายาชนิด

Free download pdf