Basic Refrigeration ED1.0_4SEP22

(kitipong j.) #1

_____^ บทที่^5 ประสิทธิภาพเชิงปริมาตรของการอัดไอ^ ||^135


โดยส่วนใหญ่ในงานอุตสาหกรรมจะบอกเป็นความดันเกจแทบทั้งสิ้น โดย Gauge
Pressure จะมีค่าเป็น 0 ที่ความดันบรรยากาศ สัญลักษณ์ที่ใช้คือ “g” หรือ “G”
ซึ่งจะเขียนสัญลักษณ์นั้นไว้ต่อท้ายชื่อหน่วย เช่น barg, Psig เป็นต้น จากความดัน
ที่กล่าวมาสามารถสรุปโดยรวมได้ดังรูปที่ 5.2


รูปที่ 5.2 ความดันในแบบต่างๆ


(ที่มา: https://legatool.com/wp/4169/)

5.3 เกจวัดแรงดันที่ใช้ในงานการทําความเย็น


เกจวัดแรงดันหรือเพรสเชอร์เกจ(Pressure Gauge) เป็นอุปกรณ์
ส่วนประกอบในระบบทําความเย็น เพื่อใช้วัดระดับค่าแรงดันของสารทําความเย็น
ที่อยู่ในระบบว่ามีค่าแรงดันเท่าใดปกติจะแบ่งออกเป็น 2 ชนิดการวัดคือ



  • เกจวัดแรงดันด้านแรงดันต่ํา (Low Pressure Gauge)

  • เกจวัดแรงดันด้านแรงดันสูง (High Pressure Gauge)


โดยเกจวัดแรงดันแต่ละรุ่นหรือยี่ห้อ ซึ่งมีทั้งแบบอนาล็อก รูปที่ 5.3 และแบบ
ดิจิตอล รูปที่ 5.4 จะแบ่งการวัดแรงดันสารทําความเย็นที่แตกต่างกันออกไปของ
แต่ละกลุ่มสารทําความเย็น ได้แก่ R-404A,R-134a, R-22, R-410A, R- 32 เป็นต้น
และในการอ่านค่าที่วัดบนสเกลของเกจจะแสดงค่าแรงดันและอุณหภูมิอิ่มตัวของ

Free download pdf