Basic Refrigeration ED1.0_4SEP22

(kitipong j.) #1

_____^ บทที่^5 ประสิทธิภาพเชิงปริมาตรของการอัดไอ^ ||^153


แทนสมการที่ 5 .1 8 และ 5. 19 ลงในสมการที่ 5.2 1 ได้เป็นดังนี้


COP2state = (h1I−h4I)
(h2IE−vh,I1I)+
(^ h(h1II2I−−hh4II3I))(h2II−h1II)
Ev,II +^
(^ h(h1III2II−−hh4III3II))^ (h2III−h1III)
Ev,III

5.2 2


5.5 สารทําความเย็นในระบบทําความเย็น


สารทําความเย็น (Refrigerant) คือ สารเคมีเหลวที่ใช้ในระบบทําความ

เย็น มีคุณสมบัติ คือจุดเดือดต่ําระเหยได้เร็วที่ความดันปกติ ทําให้ดูดซับ และ
นําพาความร้อนจากสิ่งแวดล้อมได้ดี


การทํางานของสารทําความเย็น หรือ น้ํายา จะทําหน้าที่เป็นตัวกลาง
ถ่ายเทความร้อนในระบบทําความเย็น เมื่ออุปกรณ์ควบคุมสารทําความเย็นฉีดสาร
ทําความเย็นเข้าไปในอีวาโปเรเตอร์ สารความเย็นจะเกิดการเดือดและเปลี่ยน
สถานะกลายเป็นไอที่อุณหภูมิและความดันที่ต่ํา จากนั้นจะเกิดความต้องการดูด
รับปริมาณความร้อน และความร้อนแฝง ภายในบริเวณที่ต้องการให้เกิดความเย็น
เช่น ภายในห้อง หรือภายในตู้ เป็นต้น ซึ่งเป็นบริเวณโดยรอบของอีวาโปเรเตอร์


และความร้อนที่สารทําความเย็นรับไปนี้ จะถูกระบายหรือถ่ายเททิ้งออกภายนอก
บริเวณที่ต้องการให้เกิดความเย็นที่คอนเดนเซอร์ หรืออุปกรณ์ควบแน่น และจุดที่
มีการระบายความร้อนนี่เอง คือ จุดที่สารทําความเย็นจะเกิดการกลั่นตัวเพื่อ
เปลี่ยนสถานะให้กลายเป็นของเหลวดังเดิม และไหลเวียนเข้าสู่ระบบกลายเป็นวัฏ
จักรทําความเย็นดังรูปที่ 5.15
(ที่มา: https://www.coolinnotech.com/en/type-refrigerant)

Free download pdf