Basic Refrigeration ED1.0_4SEP22

(kitipong j.) #1

(^204) _____ || การทําความเย็นเบื้องต้น (^)
นําไปใช้งานได้หลากหลาย โดยเฉพาะในระบบที่ไม่มีความจําเป็นต้องควบคุม
สภาวะการทํางานอย่างเข้มงวด อีกทั้งแคพิลลารี่ทูปยังมีราคาไม่แพงอีกด้วย รูปที่


7.6 ตําแหน่งติดตั้งแคพิลลารี่ทูป


สารทําความเย็นที่ออกจากคอยล์ร้อนจะมีสถานะเป็นของเหลว และไหล


ต่อเข้าไปในท่อแคพิลลารี่ ซึ่งโดยทั่วไปความสัมพันธ์ระหว่าง ความดัน-อุณหภูมิ


ของสารที่ไหลอยู่ในท่อแคพิลลารี่ซึ่งนําเสนอโดย Bolstad and Joedan (1948)
จะเป็นไปตามรูปที่ 7.7 โดยการลดลงของความดันในช่วง 0 - 1 - 2 จะมีการลดลง
แบบไม่มากนัก และการลดลงต่อระยะทางมีความสัมพันธ์เป็นแบบเส้นตรง


(linear) ในขณะที่ช่วงหลัง 2 - 3 - 4 การลดลงของความดัน จะเกิดขึ้นรวดเร็วกว่า
ตอนช่วงแรก และจะเห็นว่าอัตราการลดลงของความดันต่อระยะทางมีค่ามากขึ้น
เมื่อระยะทางใกล้ทางออกมากขึ้น


ในปี 1995 Wolf และคณะ ได้มีการพัฒนาชาร์ท (chart) ที่ใช้ในการหา
ค่าอัตราการไหลของสารทําความเย็นที่ไหลผ่านท่อแคพิลลารี่ (adiabatic


capillary tube) ซึ่งวิธีการจะคล้ายกันกับของชาร์ทสําหรับสารทําความเย็น R- 12
และ R- 22 ของ Hopkins (1950) โดยชาร์ทจะประกอบด้วยสองส่วนด้วยกัน ส่วน
แรกจะเป็นชาร์ทอัตราการไหลของสารทําความเย็นของท่อแคพิลลารี่ขนาดหนึ่ง ที่
เงื่อนไขความดันทางเข้าของท่อแคพิลลารี่ต่างๆ ส่วนที่สองจะเป็นชาร์ทของค่า
ปรับแก้ของอัตราการไหลของท่อแคพิลลารี่ขนาดอื่นๆ

Free download pdf