(^206) _____ || การทําความเย็นเบื้องต้น (^)
รูปที่ 7.7 แสดงความสัมพันธ์ระหว่างความดัน–อุณหภูมิ ในแคพิลลารี่ทูป
(Bolstad and Joedan, 1948)
รูปที่ 7.8 และ 7.9 เป็นชาร์ทใช้หาอัตราการไหลของสารทําความเย็น R-
134a (ที่มา : ASHRAE Handbook Refrigeration 2017) ผ่านท่อแคพิลลารี่
(ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางภายใน 0.86 มม. ยาว 3300 มม.) โดยรูปที่ 7.8 ใช้หา
อัตราการไหล ที่ความดันขาเข้าแคพิลลารี่ต่างๆ โดยค่าอัตราการไหลขึ้นกับ
สภาวะ sub-cool หรือสภาวะสถานะผสม (vapor-liquid saturation) ที่
เปอร์เซ็นต์ไอ (quality) ต่างๆ รูปที่ 7.9 ใช้สําหรับปรับแก้อัตราการไหล (flow
factor, ) ที่ได้จากรูปที่ 7.8 เมื่อความยาวและขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางภายในของ
ท่อแคพิลลารี่เปลี่ยนไป โดยกรณีที่ถ้าสภาวะทางเข้าอยู่ในสถานะผสม ให้คูณค่า
ปรับแก้อีก 0.95
สําหรับสารทําความเย็น R-410a จะใช้ชาร์ทรูปที่ 7.10 หาอัตราการไหลที่
ความดันขาเข้าต่างๆ และ รูปที่ 7.11 สําหรับปรับแก้ โดยวิธีการหาก็จะเหมือนกัน
ยกเว้นกรณีที่ทางเข้าอยู่ในสถานะผสม หรืออยู่ในสภาวะแบบ 2 เฟส (two-phase
condition) จะใช้รูปที่ 7.12 เป็นค่าปรับแก้อัตราการไหลแทน ในขณะที่ถ้าเป็น
สารทําความเย็น R- 22 จะใช้ชาร์ทรูปที่ 7.13 – 7.1 4 ในการหาอัตราการไหลฐาน