(^102) ____ || การท าความเย็นเบื้องต้น (^) _
ข้อสังเกตจาก ตัวอย่างที่ 3.9 และตัวอย่างที่ 3.10 ทําให้เห็นว่าการ
ออกแบบอุณหภูมิที่คอยล์เย็น (Evaporator) ต่างกันแต่อุณหภูมิที่คอยล์ร้อน
(Condenser) เท่ากันเมื่อทําการเปรียบเทียบกันได้จะทําให้เห็นว่าระบบทําความ
เย็นที่มีการออกแบบที่อุณหภูมมิต่ํากว่านั้นมีค่าประสิทธิภาพทําความเย็น (COP)
ที่ต่ํากว่า และมีแนวโน้มที่ลดลง ตามอุณหภูมิคอย์เย็น (Evaporator)
ในบางกรณีของการทําความเย็นที่อุณหภูมิต่ํา ระบบทําความเย็นแบบอัด
ไอจะเป็นกระบวนการทําความเย็นแบบ 2 ชั้น (Two stage) หรือแบบหลายชั้น
(Multi stage) ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะการทําความเย็นที่อุณหภูมิต่ํามีผลให้ช่วงความ
แตกต่างของอุณหภูมิระหว่างคอยล์เย็น (Evaporator) และคอยล์ร้อน
(Condenser) มีค่ากว้างมากวัฏจักรทําความเย็นแบบอัดไอแบบชั้นเดียว (single -
state) จึงไม่เหมาะสมที่จะนํามาใช้ในเชิงปฏิบัติ ยิ่งช่วงความแตกต่างของอุณหภูมิ
กว้างมากขึ้น ก็ยิ่งทําให้ช่วงความแตกต่างของความดันในวัฏจักรกว้างมากขึ้น
เท่านั้น และส่งผลให้ประสิทธิภาพการทํางานของระบบลดลง การทําความเย็น
แบบ 2 ชั้น หรือหลายชั้น (Multiple Stage) จะถูกนํามาใช้เพื่อช่วยทําให้
ประสิทธิภาพการทําความเย็นเพิ่มมากขึ้น เมื่อเทียบกับแบบชั้นเดียว