(^12) ___ || การทําความเย็นเบื้องต้น (^) __
ส่วนที่ทําให้เกิดการสร้างความแตกต่างของความดันโดยที่มีตัวอัดไอโดยมีอุปกรณ์
ที่มีชื่อว่า คอมเพรสเซอร์ Compressor ถือว่าเป็นอุปกรณ์ที่สําคัญที่สุดของระบบ
ทําความเย็นแบบอัดไอ ด้วยการทําหน้าที่เพิ่มความดันและอุณหภูมิให้กับสารทํา
ความเย็นที่อยู่ในสถานะเป็นไอ โดยคอมเพรสเซอร์จะดูดสารทําความเย็นที่เป็นไอ
ความดันต่ําจากคอยล์เย็น (Evaporator) เข้ามาทางท่อดูดของคอมเพรสเซอร์และ
อัดไอของสารทําความเย็นนี้ให้มีความดันและอุณหภูมิที่สูงขึ้น ก่อนจะส่งไปยังส่วน
ที่สามคือ คอนเดนเซอร์ (Condenser) โดยทั่วไปก็จะมีลักษณะเป็นท่อคดไปมา
คล้ายกับคอยล์เย็นเหมือนกับคอยล์เย็นแต่ในส่วนนี้จะเรียกกันว่าคอยล์ร้อนเป็น
อุปกรณ์ที่ช่วยในการระบายความร้อนของสารทําความเย็นที่มีสถานะเป็นไอ มี
อุณหภูมิสูงและความดันสูง โดยหน้าที่ของคอนเดนเซอร์คือการควบแน่นเอาความ
ร้อนออกแต่ยังคงสถานะความดันอยู่เช่นเดิม สารทําความเย็นที่เข้ามาใน
คอนเดนเซอร์จะมีสถานะเป็นไอและมีความร้อนสูงเพราะได้รับความร้อนและ
ความดันสูงจากคอมเพรสเซอร์ เมื่อสารทําความเย็นไหลผ่านผนังของ
คอนเดนเซอร์ จากสถานะเป็นไอก็จะกลายเป็นของเหลว เพื่อที่จะไหลกลับเข้าสู่
ส่วนคอยล์เย็น (Evaporator) แต่ก่อนที่จะเข้าสู่ส่วนระเหยต้องผ่านส่วนของ วาล์ว
ลดความร้อน (Expansion Valve) ส่วนนี้เป็นส่วนสุดท้ายของการทําความเย็นมี
หน้าที่เพื่อช่วยทําให้ความดันและอุณหภูมิของสารทําความเย็นลดลงของสารทํา
ความเย็นที่ส่งมาจากคอยล์ร้อน (Condenser) จะไหลผ่านวาล์วลดความดัน ซึ่งจะ
ปรับลดความดันของสารทําความเย็นให้ลดลง ส่งผลให้สารทําความเย็นพร้อมที่จะ
ระเหยตัวที่อุณหภูมิต่ําในส่วนของ (Evaporator) อีกครั้ง โดยที่สารความเย็นจะ
วนอยู่ภายในระบบทําความเย็นเป็นระบบปิด
kitipong j.
(kitipong j.)
#1