___บทที่^3 วัฏจักรการท าความเย็นแบบอัดไอ^ ||^59
__
จนหมดก็จะกลับไปเข้าที่ จุดที่ 1 วนเป็นวัฏจักรแบบนี้เสมอโดยจะสามารถนําจุด
แต่ละจุดไปเขียนบน P-H Diagram Chart ได้ดังรูปที่ 3. 2
รูปที่ 3. 2 แสดงวัฏจักรการทําความเย็นแบบอัดไอบน P-H Diagram Chart
การเริ่มออกแบบระบบทําความเย็นเบื้องต้นโดยใช้ P-H Diagram Chart
สามารถทําได้โดยการกําหนดเส้นอุณหภูมิของสารทําความเย็นในรูปที่ 3.2 เส้นที่
เกิดกระบวนการ Evaporation (จุด 4 ถึง 1) ที่ส่วนของคอยล์เย็น (Evaporator)
ที่ต้องการ จากนั้นทําการกําหนดอุณหภูมิของสารทําความเย็น คือ เส้นที่เกิด
กระบวนการ Condensation (จุด 3 ถึง 2) ในส่วนของคอยล์ร้อน (Condenser)
ให้สูงกว่าอุณหภูมิบริเวณโดยรอบ (ประมาณ 10 - 15 องศา) เพื่อที่ให้เกิดสารทํา
ความเย็นได้เกิดการระบายความร้อนออกเพื่อให้เกิดการควบแน่น
(Condensation) จากไอกลายเป็นของเหลว จากนั้นสร้างเส้นที่เกิดกระบวนการ
Compression (จุด 1 ถึง 2) และเส้นที่เกิดกระบวนการ expansion (จุด 3 ถึง
4 ) ดังรูปที่ 3. 3