Basic Refrigeration ED1.0_4SEP22

(kitipong j.) #1
_________________________________________________บทที่ 1 การทําความเย็น และวัฏจักรการทําความเย็น___^ || _^3
เปลี่ยนความร้อนโดยท่อน้ําจะเป็นตัวกลางในการแลกเปลี่ยนถ่ายเทความร้อนจาก
อากาศสู่น้ํา ดังนั้นน้ําที่ได้รับความร้อนจากอากาศก็จะมีอุณหภูมิที่สูงขึ้นมากกว่า
10 ๐ C และอากาศเมื่อถ่ายเทความร้อนกับน้ําแล้วนั้นก็จะมีอุณหภูมิลงลดน้อย
กว่า 25๐ C ตัวอย่างนี้แสดงถึงกรณีที่มีน้ําเย็นอยู่แล้ว ถ้าไม่มีน้ําเย็น ก็ต้องมีการ
ทําให้น้ํานั้นเย็นก่อน ซึ่งจะใช้หลักการการเปลี่ยนสถานะของสสาร

1.2 หลักการทําความเย็น


การทําความเย็นในรูปแบบทั่วไปเป็นการใช้ประโยชน์จากคุณสมบัติสาร
ทําความเย็น (Refrigerant) ที่มีคุณสมบัติการเปลี่ยนสถานะจาก ของเหลว
กลายเป็นแก๊ส (Evaporation) และแก๊สกลายเป็นของเหลว (Condensation)
เพราะการเปลี่ยนแปลงสถานะของสารนั้นจําเป็นที่ต้องการความร้อนแฝงเข้ามา
ช่วย ดังนั้นการเปลี่ยนสถานะของเหลวการเป็นแก๊ส (Evaporation) หรือบางทีก็
เรียกว่าการเดือด ซึ่งจะเป็นกระบวนการดึงความร้อนจากบริเวณใกล้เคียง โดยผล
ที่ได้ก็จะทําให้บริเวณใกล้เคียงนั้นมีอุณหภูมิที่ลดลง จึงเกิดการทําความเย็น

1.3 การเปลี่ยนสถานะของสสาร


การเปลี่ยนสถานะของสสาร อันได้แก่ กระบวนการเปลี่ยนจากแข็งเป็น
ของเหลวเรียกว่าการละลาย (Melting) กระบวนการเปลี่ยนจากของเหลวไปเป็น
ไอเรียกว่าการระเหย (Vaporization) กระบวนการเปลี่ยนจากของเหลวไปเป็นไอ
เรียกว่าการระเหิด (Sublimation) กระบวนการเปลี่ยนจากไอไปเป็นของแข็ง
เรียกว่าการระเหิดกลับ (Sublimation) กระบวนการเกิดจากไอไปเป็นของเหลว
เรียกว่าการควบแน่น (Condensation) กระบวนการเกิดจากของเหลวไปเป็น
ของแข็งเรียกว่าการแข็งตัว (Freezing)
Free download pdf