(^6) ___ || การทําความเย็นเบื้องต้น (^) __
ว่า ถ้าเราควบคุม อุณหภูมิจุดเดือดของน้ําให้มีอุณหภูมิต่ํา เราก็จะสามารถใช้
ประโยชน์ของน้ําที่อุณหภูมิต่ํา ๆ ในการทําความเย็นได้
รูปที่ 1.3 แสดงการควบคุมความดันเพื่อควบคุมจุดเดือดของน้ําให้มี
อุณหภูมิต่ํา โดยน้ําที่ความดัน 101.42 kPa อยู่อากาศ 35๐ C จะไม่เกิดการเดือด
เนื่องจากคุณสมบัติของน้ําที่ความดัน 101.42 kPa อุณหภูมิ 35๐ C น้ําจะไม่เกิด
การเปลี่ยนสถานะจากของเหลวกลายเป็นแก๊ส เนื่องจากน้ําที่ความดัน 101.42
kPa จะเริ่มเดือดก็ต่อเมื่ออุณหภูมิ 100๐ C เมื่อน้ําที่ความดัน 101.42 kPa อยู่ใน
อากาศที่ 35๐ C เมื่อเวลาผ่านไปน้ําก็จะเกิดแลกเปลี่ยนความร้อนกับอากาศจนน้ํา
มีอุณหภูมิเท่ากับอากาศเมื่ออุณหภูมิของอากาศและน้ําเท่ากันก็จะสิ้นสุดการ
แลกเปลี่ยนความร้อนทําให้อุณหภูมิของน้ําและอากาศคงที่ไม่เกิดเป็นกระบวนการ
ทําความเย็น
แต่ถ้าหากมีความต้องการให้น้ํานั้นเกิดการเปลี่ยนสถานะเพื่อที่ต้องการให้
เกิดการดูดความร้อนจากอากาศบริเวณโดยรอบเพื่อให้อุณหภูมิของนั้นลดลงน้อย
กว่า 35๐ C สามารถทําได้โดยการลดความดันของน้ําลง โดยคุณสมบัติของน้ําที่
25 ๐ C จะมีการเปลี่ยนสถานะที่ความดันน้อยกว่า 3.1689 kPa ดังตารางที่ 1.1
เมื่อทําการลดความดันของน้ําลงน้ําก็จะเริ่มเกิดการเปลี่ยนแปลงสถานะจาก
ของเหลวกลายเป็นแก๊สน้ําก็จะเริ่มดูดความร้อนจากบริเวณโดยรอบมาใช้ จากนั้น
ก็จะส่งผลทําให้อุณหภูมิของอากาศบริเวณโดยรอบลดลงน้อยกว่า 35๐ C เกิดเป็น
กระบวนการทําความเย็น ดังรูปที่ 1. 4
kitipong j.
(kitipong j.)
#1